เนื้อหา

รู้สิทธิตัวเองก่อนเจ็บป่วย

eeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee

จากการให้บริการที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิรักษาฟรีอะไร สังเกตได้จากใบซักประวัติที่ห้องบัตรในช่อง “สิทธิบัตร” มีเพียง 20 % เท่านั้นที่ระบุสิทธิ และใน 20% ที่ระบุสิทธินั้นก็มีเพียง 5 % ที่ระบุสิทธิตัวเองได้ถูกต้อง

     ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นคือ ผู้ป่วย 95 % (ที่ไม่ระบุสิทธิและระบุสิทธิไม่ถูก)  บ่นอุบ!  หน้าห้องจ่ายเงินว่า “ทำไมต้องจ่าย” หรือ “ทำไมไม่ฟรี”   ซึ่งมีเหตุการณ์แบบนี้แทบจะทุกวัน

 4fb0a6dca4913

     วันนี้  เราจึงไม่อยากให้เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นกับท่าน  เราจึงขอเสนอวิธีการง่ายๆ  เพื่อให้ท่านและครอบครัวได้รู้สิทธิของตัวเอง ก่อนเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลระนอง หรือโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ   ดังนี้

y

x

w

v

u

t…….

ก่อนอื่น....ขอถามว่า..ท่านรู้จักสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือไม่

หากท่านตอบว่า..รู้!!!....แหมมันช่างยอดเยี่ยม

แต่ถ้าตอบว่า....ไม่รู้ดิ??....แถมทำหน้า.งง..อีกพักหนึ่ง...

เราจะได้เฉลยให้ท่านทราบว่าพร้อมกันกับท่านแรกว่า....

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ............

nhso

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. จะมีระบบบริการตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ต้องการทราบสิทธิรักษาฟรีของตน  ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

1.จากเว็บไซต์ http://www.nhso.go.th/peoplesearch/

2.จาก สายด่วน 1330

1330

3. ระบบตอบรับอัตโนมัติ 1330 กด 2

 

เพียงแจ้งหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ท่านก็สามารถทราบสิทธรักษาฟรีของท่านได้แล้ว

““““““““““““

สำหรับผู้ทีมีสัญชาติไทยทุกคน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก จะต้องมีสิทธิรักษาฟรีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. สิทธิเบิกราชการ/รัฐวิสาหกิจ
  2. สิทธิประกันสังคม
  3. สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ซึ่งจะมีสิทธิดังกล่าวข้างต้นได้นั้น จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

1.สิทธิเบิกราชการ/รัฐวิสาหกิจ

ข้าราชการในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่

  1. ข้าราชการพลเรือน(ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์)

1.2ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

1.3ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาข้าราชการทหาร

1.4ข้าราชการตำรวจข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

1.5ข้าราชการฝ่ายอัยการ

1.6ข้าราชการรัฐสภา

1.7ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง

1.8ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

1.9ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

1.10ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

1.11ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร

1.12ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

1.13ข้าราชการการเมือง

1.14พนักงานอื่นของรัฐ

  • พนักงานส่วนท้องถิ่น (พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานครูเทศบาล)
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • พนักงานราชการ
  • พนักงานมหาวิทยาลัย
  • พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
  • พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
  • ลูกจ้างประจำ

กลุ่มบุคคลข้างต้นสามารถมาลงทะเบียนสิทธิเบิกจ่ายตรง

สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้  ที่โรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง และสามารถใช้สิทธิรักษาฟรีภายหลังจากกรมบัญชีกลางอนุมัติสิทธิประมาณ 20 วันนับจากวันที่สมัคร

 

2.สิทธิประกันสังคม

            ผู้ที่มีสิทธิได้รับสิทธิประกันสังคม  คือ ผู้ที่ทำงานในสถานประประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

  

3.บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า / บัตรทอง / บัตร 30 บาท

             ผู้ที่จะได้รับมีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้   เช่น

  1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดา ที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
  2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง ประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบhl-country  รู้อย่างนี้แล้ว....ลองตรวจสอบดูสิ...จะได้รู้ว่า..ท่านมีสิทธิรักษาฟรีอะไร....^0^

Bottom